บทนำ

ขอต้อนรับทุกท่านสู่คลินิกเวชกรรมบางไผ่ ใกล้บ้าน... ใกล้ใจ... ห่วงใยดูแลคุณ สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องทำเอง
มุ่งมั่นตั้งใจ รับใช้บริการ ให้ทุกสิ่งได้มาตรฐาน บริการประทับใจ
พันธกิจของเรา คือ เป็นส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ

รู้เรื่องยา

รู้เรื่องยาปฎิชีวนะ(Antibiotics ) 
     ยาปฏิชีวนะคือยาอะไร?
ในวงการแพทย์มักเรียกยาปฏิชีวนะว่า แอนไทไบโอติก หรือ บางคนออกเสียงว่า แอนติไบโอติก (Antibiotics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก หมายถึง ยาต้านสิ่งมีชีวิต (Anti หมายถึง ต่อต้าน Bios หมายถึง ชีวิต) ซึ่งสิ่งมีชีวิตในที่นี้ คือ จุลชีพ หรือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ซึ่งคือ เชื้อโรคนั่นเอง ดังนั้น ยาปฏิชีวนะ ก็คือ ยายับยั้ง ฆ่า และ/หรือ ต้าน ทานจุลชีพซึ่งโดยทั่วไปมักเป็นเชื้อแบคทีเรีย บางคนจึงเรียกว่า ยาต้านแบคทีเรีย (แอนติแบคทีเรียล/Antibacterial) แต่ยังอาจครอบคลุมถึงเชื้อไวรัสบางชนิด และเชื้อราบางชนิดได้ด้วย
ในร่างกายของมนุษย์จะมีระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรค เช่น เม็ดเลือดขาวที่ใช้ป้อง กันการบุกรุกของเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย อาทิ เชื้อวัณโรค เป็นต้น ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่เชื้อโรคมีมากจนภูมิต้านทานหรือเม็ดเลือดขาวสู้ไม่ได้ เราก็จำเป็นต้องหาผู้ช่วย เช่น ยาปฏิชีวนะ เข้ามาเป็นกำลังเสริม ปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดในการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นอย่างมาก ใช้ผิดวิธีโดยมิได้ตั้งใจและก่อให้เกิดผลเสียตามมา ซึ่งบางครั้งอาจถึงกับเสียชีวิตได้ ทั้งจาก การแพ้ยา และ/หรือ เชื้อดื้อยา
ยาปฏิชีวนะมีกี่ชนิด อะไรบ้าง?
ยาปฏิชีวนะ กลุ่มแรกเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งสังเคราะห์ได้จากเชื้อรา แต่ในยุคปัจจุบัน ได้กำเนิดยาต้านเชื้อโรค โดยเฉพาะ เชื้อแบคทีเรีย รุ่นลูกหลานออกมามากมายจนนับไม่ถ้วน ดังขอยกตัว อย่างกลุ่มยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้ในบ้านเรา ดังนี้
1.    เพนิซิลลิน เป็นยาใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียได้ในหลายเนื้อเยื่อ/อวัยวะ เช่น คออักเสบ เป็นต้น เป็นกลุ่มยาที่ไม่ทนกับกรดในกระเพาะอาหาร จึงต้องกินยาก่อนอาหาร และถูกขับออกจากร่างกายโดยผ่านไต แต่ยาบางตัวในกลุ่มนี้ก็ถูกขับออกโดยผ่านกระบวนการที่ตับก่อน
ตัวอย่างยาในกลุ่มเพนิซิลลิน เช่น อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) แอมพิซิลลิน (Ampicillin) คาร์เบนิซิลลิน (Carbenicillin) คลอกซาซิลลิน (Cloxacillin) และ ฟลูคลอซาซิลลิน (Flucloxacillin)
2.    อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) เป็นยาปฏิชีวนะใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่กระดูก ข้อ การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อหลังผ่าตัด ยากลุ่มนี้ไม่ค่อยดูดซึมทางลำไส้ ต้องใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือด มีความเป็นพิษต่อไตและหูชั้นใน
ตัวอย่างยา กลุ่มอะมีโนไกลโคไซด์ เช่น เจนตามัยซิน (Gentamycin) โทบรามัยซิน (Tobramycin) อะมิคาซิน (Amikacin) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) สเปคทิโนมัยซิน (Spectinomycin) กานามัยซิน (Kanamycin) และนีโอมัยซิน (Neomycin)
3.    เซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) จัดเป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น ชนิดก่อการอักเสบของทางเดินหายใจ และของทางเดินอาหาร ยากลุ่มนี้ไม่ทนกรดเช่นเดียวกับกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) และดูดซึมในทาง เดินอาหารได้ไม่ดี จึงต้องใช้การฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าหลอดเลือด แต่ก็พบว่า ยาเซฟาโลสปอรินบางตัวมีคุณสมบัติทนกรดได้ดี ทั้งยังสามารถให้ยาโดยการรับประทานได้  ยาเซฟาโลสปอรินขับออกจากร่างกายโดยผ่านทางไตออกมากับปัสสาวะ บาง ส่วนถูกทำลาย และผ่านออกมาทางตับแต่เป็นส่วนน้อย
ตัวอย่างยาในกลุ่ม เซฟาโลสปอริน เช่น เซฟาโซลิน (Cefazolin) เซฟาคลอร์ (Cefaclor) เซฟูรอกซีม (Cefuroxime) เซโฟแทคซีม (Cefotaxime) และ เซฟไตรอะโซน (Ceftriaxone)
4.    แมคโครไลด์ (Macrolide) จัดเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้แพร่หลายอีกกลุ่มหนึ่ง สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยการก่อกวนที่สารพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า อาร์เอนเอ (RNA) ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนในการดำรงชีวิตได้ มักใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง
ตัวอย่างยากลุ่มแมคโครไลด์ เช่น อีรีโทรมัยซิน (Erythromycin) อาซิโทรมัยซิน (Azithromycin) คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin) และรอซิโทรมัยซิน (Roxithromycin)
5.    เตตราไซคลีน (Tetracyclines) ใช้รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อในลำไส้ รักษาหลอดลมอักเสบ แผล ฝี หนอง มีกลไกการออกฤทธิ์โดย ก่อ กวนการทำงานของสารพันธุกรรม หรือ อาร์ เอน เอ ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนได้ และทำให้เชื้อหยุดการเจริญเติบโต
ข้อควรระวังของยากลุ่มเตตราไซคลีน มีดังนี้
o   ห้ามใช้ยาในเด็กอ่อน และหญิงมีครรภ์ เพราะอาจส่งผลถึงการเจริญเติบโตของกระดูกของเด็กและของทารกในครรภ์ได้
o   หากใช้ร่วมกับยาคุมกำเนิด จะลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด จึงอาจตั้งท้องได้
o   ห้ามใช้ร่วมกับยาลดกรด และ/หรือ ยากลุ่มวิตามินที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ เพราะจะลดการดูดซึมยาเตตราไซคลีนได้
ตัวอย่างยากลุ่มเตตราไซคลีน เช่น เตตราไซคลีน ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) และ ออกซีเตตราไซคลีน (Oxytetracycline)
6.    ควิโนโลน (Quinolones) ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ทางไต และต่อมลูกหมาก แต่ไม่ค่อยนำไปใช้รักษาการติดเชื้อในโพรงไซนัส(Sinusitis/ไซนูไซติส) ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดย รบกวนการสร้างโปรตีนในสารพันธุกรรมของเชื้อแบคทีเรีย ที่เรียกว่า ดี เอน เอ(DNA)
ข้อควรระวังและห้ามใช้ยากลุ่มควิโนโลน คือ ในผู้ที่เป็นโรคลมชัก เพราะอาจกระตุ้นสมอง เป็นสาเหตุให้ชักได้บ่อยขึ้น
ตัวอย่างยากลุ่มควิโนโลน เช่น ไซโปรฟลอซาซิน หรือ ซิโปรฟลอซาซิน (Ciprofloxacin) เลโวฟลอซาซิน(Levofloxacin) นอร์ฟลอซาซิน(Norfloxacin) และ โอฟลอซาซิน(Ofloxacin)

ขอขอบคุณ เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร ภบ.

Read More

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย...เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส.... เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย
ใครชอบใครชังช่างเถิด ใครเชิดใครแช่งช่างเขา ใครเบื่อใครบ่นทนเอา ใจเราร่มเย็นเป็นพอ