บทนำ

ขอต้อนรับทุกท่านสู่คลินิกเวชกรรมบางไผ่ ใกล้บ้าน... ใกล้ใจ... ห่วงใยดูแลคุณ สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องทำเอง
มุ่งมั่นตั้งใจ รับใช้บริการ ให้ทุกสิ่งได้มาตรฐาน บริการประทับใจ
พันธกิจของเรา คือ เป็นส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ

25 มีนาคม 2555

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม

·        ใครคือผู้สมควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม?
ผู้สมควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม คือ ผู้หญิงทุกคน เริ่มตั้งแต่วัยที่พอเข้าใจ และสามารถดูแลตนเอง และสอนให้ดูแลตนเองได้ โดยทั่วไปมักเริ่มที่อายุ 18-20 ปี และควรตรวจสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดชีวิตตามแพทย์แนะนำ ตราบเท่าที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะมีอายุไขได้ยืนยาวต่ออีกอย่างน้อยประมาณ 5 ปีนับจากการตรวจครั้งสุดท้าย (ข้อมูลการศึกษาทางการแพทย์มักครอบคลุมถึงอายุประมาณ 74 ปี)
·        วิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทำอย่างไร? ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน?
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมมี 3 วิธีสำคัญ คือ ตรวจคลำเต้านมด้วยตนเอง แพทย์เป็นผู้ตรวจคลำเต้านม และการตรวจภาพรังสีเต้านม หรือ แมมโมแกรม (Mammogram ) ซึ่งในการตรวจคัดกรอง ควรต้องปฏิบัติทั้ง 3 วิธี
1.   การตรวจคลำเต้านมด้วยตนเอง คือ การใช้ฝ่ามือตนเอง คลำบนเต้านมด้านตรงข้าม อาจตรวจในท่านั่ง ท่านอนหงาย หรือ ขณะกำลังอาบน้ำ การตรวจที่เพิ่มความถูกต้อง คือ เต้านมต้องแผ่ขยายแบนราบกับผนังหน้าอก ดังนั้นในขณะตรวจ จึงควรต้องยกแขนขึ้นเพื่อ ให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบ แล้วใช้ฝ่ามือคลำเบาๆบนเต้านม กดเบาๆลงบนผนังหน้าอก เมื่อพบก้อนเนื้อ หรือ สงสัยสิ่งผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย ในการคลำสลับยกมือ และคลำเต้านมทีละข้าง
ควรบีบหัวนมเบาๆ เมื่อพบมีน้ำเลือด ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากเต้านมอักเสบ หรือ โรคมะเร็ง(ปกติจะไม่ได้อะไร หรือได้น้ำใสๆนิดหน่อย)
ควรสังเกตผื่นคันเรื้อรัง บนหัวนม หัวนมบุ๋มผิดไปจากเดิม ผิวเต้านมผิดไปจากเดิม เช่นคล้ายหนังหมู หรือ บวมแดงร้อน ทั้งหมดอาจเป็นอาการของมะเร็งเต้านมได้
ควรคลำ หรือ สังเกตุรักแร้ทั้งสองข้างด้วย ว่ามีก้อนเนื้อผิดปกติหรือไม่ เพราะโรคมะเร็งเต้านมพบว่ามีการลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ได้สูง
การตรวจคลำเต้านม ควรตรวจคลำ ทีละข้าง พร้อมตรวจคลำรักแร้ ทั้งนี้การตรวจคลำเต้านมด้วยตนเอง ทำได้บ่อยตามต้องการ แต่อย่างน้อยเดือนละครั้ง ซึ่งเมื่อพบก้อนเนื้อ หรือ สงสัยสิ่งผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย ในการคลำสลับยกมือ และคลำเต้านมทีละข้าง
2.   การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคคลากรทางการแพทย์ จะด้วยวิธีการเช่นเดียวกับการตรวจเต้านมด้วยตน เอง เพียงแต่ผู้ให้การตรวจเป็นแพทย์ ซึ่งในช่วงอายุ 20-39 ปี ควรให้แพทย์ตรวจทุก 3 ปี เมื่อตรวจตนเองแล้วปกติ แต่เมื่อมี่ความกังวล หรือ คิดว่าอาจมีสิ่งผิดปกติ ควรพบแพทย์ก่อนนัดเสมอ ส่วนเมื่อพบมีสิ่งผิดปกติ แพทย์จะเป็นผู้แนะนำเองว่า ควรทำอย่างไร? แต่เมื่ออายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์ตรวจคลำเต้านมทุกปี โดยเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพประจำปี
3.   การตรวจภาพรังสีเต้านม เป็นการตรวจภาพเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์เทคนิคเฉพาะเต้านม เพื่อตรวจภาพหินปูน ภาพก้อนเนื้องอกธรรมดา และภาพก้อนเนื้อมะเร็ง ซึ่งในบ้านเรานิยมตรวจควบคู่กับการตรวจภาพเต้านมด้วยอัลตราซาวด์
ประเทศอังกฤษ แนะนำให้ผู้หญิงปกติทุกคน ตรวจทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 40 ปี แต่องค์กรสุขภาพด้านการป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกาเอง แนะนำให้เริ่มตรวจ ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป และเมื่อไม่ใช่กลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม การตรวจควรเป็นทุก 2 ปี แต่ในกลุ่มเสี่ยงให้ขึ้นกับคำแนะนำของแพทย์
ส่วนสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักรแนะนำผู้หญิงปกติ ควรเริ่มตรวจภาพรังสีเต้านมตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป และตรวจซ้ำทุก 3 ปี ส่วนในกลุ่มเสี่ยงให้ขึ้น กับคำแนะนำของแพทย์เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย...เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส.... เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย
ใครชอบใครชังช่างเถิด ใครเชิดใครแช่งช่างเขา ใครเบื่อใครบ่นทนเอา ใจเราร่มเย็นเป็นพอ