บทนำ

ขอต้อนรับทุกท่านสู่คลินิกเวชกรรมบางไผ่ ใกล้บ้าน... ใกล้ใจ... ห่วงใยดูแลคุณ สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องทำเอง
มุ่งมั่นตั้งใจ รับใช้บริการ ให้ทุกสิ่งได้มาตรฐาน บริการประทับใจ
พันธกิจของเรา คือ เป็นส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ

26 มีนาคม 2555

ข้อเสื่อม (Osteoarthritis)


เป็นโรคข้อเรื้อรังที่พบมากที่สุด พบบ่อยที่ข้อเข่า ข้อมือและข้อสะโพก พบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย การเสื่อมของข้อจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ การดำเนินโรคใช้ระยะ เวลานานหลายปีกว่าจะเริ่มแสดงอาการปวด
โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ข้อเสื่อม เกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี
และทางชีวกลศาสตร์ภายในข้อและภายในร่างกาย ทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ทันกับการถูกทำลาย เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อมีเลือดมาเลี้ยงน้อย เซลล์กระดูกอ่อนได้รับสารอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์สารต่างๆที่จำเป็นในการซ่อมแซมกระดูกอ่อนผิวข้อได้ ส่งผลให้ข้อที่เสื่อมไม่สามารถรับน้ำหนักที่เกิดจากการทำกิจวัตรประจำวันได้
กระดูกอ่อนผิวข้อ นอกจากมีเลือดมาเลี้ยงน้อยแล้ว ยังไม่มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเจ็บปวดอยู่ด้วย ผู้ที่มีข้อเสื่อมในระยะแรกจึงไม่เกิดอาการปวด จนกว่าข้อที่เสื่อมจะเกิดกระบวนการในการอักเสบ มีหลอดเลือดและเส้น ประสาทงอกเข้าไป หรือผิวข้อสึกรุนแรงมากจนถึงเนื้อกระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อ ผู้ป่วยจึงจะเกิดอาการปวด
อะไรคือปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อม?
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดข้อ (เข่า สะโพก มือ) เสื่อมหรือทำให้โรคลุกลามมากขึ้นได้แก่
·        อายุ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมาก
·        เพศหญิง มีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชาย
·        ระดับการทำกิจกรรมในแต่ละวันสูง การเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อข้อมาก
·        โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
·        เคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อนั้นๆมาก่อน
·        แนวกระดูกที่ประกอบเป็นข้อผิดรูป เช่น มีเข่าโก่ง
·        กรรมพันธุ์
·        เยื่อบุข้ออักเสบเรื้อรัง
โรคข้อเสื่อมมีอาการอย่างไร?
ผู้ที่มีข้อเสื่อม อาจมีอาการต่อไปนี้ คือ
·        อาการปวดข้อ เป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดเป็นๆหายๆ ยกเว้นช่วงที่ข้ออยู่ในระยะอักเสบจะมีอาการปวดข้อตลอดเวลา อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นขณะนั่งยองๆ คุกเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบเป็นเวลานาน เมื่อลุกขึ้นจะเกิดอาการปวดข้อมาก
·        อาจได้ยินเสียงลั่นในข้อ
·        ข้อติดขยับข้อได้ยาก โดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน แต่เมื่อขยับข้อนั้นๆสักพักก็สามารถขยับข้อได้เป็นปกติ
·        ข้อบวมขึ้น เนื่องจากมีน้ำเลี้ยงข้อเพิ่มขึ้นในระยะที่ข้ออักเสบ
·        ถ้าข้อเสื่อมรุนแรง อาจได้ยินเสียงกรอบแกรบในข้อเวลาที่มีการเคลื่อน ไหวข้อนั้นๆ
·        ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อหลุดออกมาเป็นชิ้นเข้าไปแทรกระหว่างข้อ
มีวิธีดูแลโรคข้อเสื่อมเบื้องต้นอย่างไร?
การดูแลรักษาเบื้องต้นของโรคข้อเสื่อมที่สำคัญ ได้แก่
·        หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อ เช่นการนั่งยอง คุกเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ
·        งดเว้นกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดแรงกระทำต่อข้อมากๆ
·        กิน ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)
เมื่อใดควรไปพบแพทย์?
ควรไปพบแพทย์ ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้
·        ข้อบวมมาก
·        ข้อติด เนื่องจากกระดูกอ่อนผิวข้อหลุดออกมาเป็นชิ้นเข้าไปแทรกระหว่างข้อ
·        อาการปวดข้อไม่บรรเทา หรือรุนแรงมากขึ้น
·        ข้อผิดรูป เช่น เข่าโก่ง

 
กลับไปดูโรคอื่นต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย...เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส.... เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย
ใครชอบใครชังช่างเถิด ใครเชิดใครแช่งช่างเขา ใครเบื่อใครบ่นทนเอา ใจเราร่มเย็นเป็นพอ