บทนำ

ขอต้อนรับทุกท่านสู่คลินิกเวชกรรมบางไผ่ ใกล้บ้าน... ใกล้ใจ... ห่วงใยดูแลคุณ สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องทำเอง
มุ่งมั่นตั้งใจ รับใช้บริการ ให้ทุกสิ่งได้มาตรฐาน บริการประทับใจ
พันธกิจของเรา คือ เป็นส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวมตามมาตรฐานวิชาชีพ

01 กรกฎาคม 2555

รู้เรื่องของเรา

    คลินิกชุมชนอบอุ่น   ... ใกล้บ้าน ... ใกล้ใจ

     ผู้มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า(หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า บัตรทอง )หลายๆท่านคงจะคุ้นหู หรือเคยไปใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิประจำครอบครัวในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ สปสช. ซึ่งเป็นคลินิกชุมชนอบอุ่น ตั้งอยู่ครอบคลุมทุกเขตใน กทม. จำนวนมากถึง 140 กว่าแห่ง
         วันนี้ เราจะพาท่านมาทำความรู้จักกับคลินิกชุมชนอบอุ่นในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้มากขึ้น  เพื่อความมั่นใจ และอบอุ่นใจเมื่อใช้บริการ

Read More

30 มิถุนายน 2555

ใครคือผู้มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพ(บัตรทอง)

       ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 5 กำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพตามที่กำหนด ในพระราชบัญญัติ ซึ่งบุคคลในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทย  ดังนั้น ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้

      ตัวอย่างบุคคลที่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ เช่น

Read More

29 มิถุนายน 2555

การใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ(บัตรทอง)เมื่อเจ็บป่วย


วิธีการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย

เจ็บป่วยทั่วไป  
  •  เข้ารับการรักษาพยาบาลได้ที่หน่วยบริการปฐมภูมิก่อนทุกครั้ง
  • แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิพร้อมแสดงหลักฐานประกอบ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ (เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาใบสูติบัตร (ใบเกิด)
หมายเหตุ : ปัจจุบันมีนโยบายใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศแล้ว ทั้งนี้ ควรเข้ารับบริการในวัน เวลาราชการ หรือเวลาที่หน่วยบริการกำหนดไว้

Read More

01 พฤษภาคม 2555

ภาวะผู้นำกับการเป็นผู้บริหารที่ดี

 การบริหารเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนและงาน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารงาน  ดังนั้นจึงต้องใช้การปกครองอย่างมีศิลปะ เพื่อให้สามารถครองใจคนและได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพเกิดคุณภาพ ถือว่าเป็นศาสตร์และศิลป์ในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ การดูแล การจูงใจจะต้องนำก่อน ทำเป็นตัวอย่างตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นที่ชื่นชมยินดี



 ประเภทของผู้นำ

·  ผู้นำแบบเผด็จการ เป็นผู้นำที่มีความเด็ดขาดในตัวเอง ถือเรื่องระเบียบวินัย กฏเกณฑ์ข้อบังคับเป็นหลัก ในการดำเนินงานการตัดสินใจต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับผู้นำแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ในแง่การบริหารงานทางด้านวิชาการด้านธุรกิจจะเปรียบเสมือนกิจการที่เป็นเจ้าของบุคคลเดียว ที่มีการดำเนินการและตัดสินใจเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการเท่านั้น
·  ผู้นำแบบประชาธิปไตย ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในโลกปัจจุบัน ให้สิทธิ์ในการออกความคิดเห็น สิทธิในการเรียกร้อง รวมไปถึงการเคารพสิทธิของผู้อื่นด้วยการเป็นประชาธิปไตยจึงเป็นลักษณะหนึ่ง ที่สังคมค่อนข้างจะยอมรับกันมากกว่าผู้นำประเภทอื่น ๆ
·  ผู้นำแบบตามสบาย เป็นผู้นำที่ไปเรื่อย ๆ มีความอ่อนไหวไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นผู้นำที่เป็นที่รักของผู้ร่วมงานอย่างมาก ผู้นำประเภทนี้จึงมีมากมายตามแต่ละกิจกรรมต่าง ๆ บางครั้งอาจมองว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีจุดยืนเป็นของตัวเอง หรือมองโลกในแง่ดีซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขยันอาจจะไม่ชอบลักษณะผู้นำ ประเภทนี้

         ในทางปฏิบัติบางแห่งในตัวผู้นำอาจจะมีรูป แบบของการเป็นผู้นำทั้ง 2 ประเภทในคนเดียว อาจจะมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นออกมาแต่ละประเภท ซึ่งสามารถควบคุมการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ลักษณะการใช้อำนาจของผู้นำแตกต่างกันออกไป เพราะในตัวผู้นำแต่ละคนมีอำนาจมีอิทธิพล สามารถดำเนินการหรือสั่งการได้ตามความเหมาะสม



Read More

30 มีนาคม 2555

เบาหวาน (Diabetes mellitus)

     เบาหวาน (Diabetes mellitus หรือ Diabetes หรือ เรียกย่อว่า โรคดีเอ็ม, DM) เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย ต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิต ทั้งนี้เกิดจากการที่ในเลือดมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ

เบาหวานเป็นโรคที่พบได้สูงในคนทุกอายุ และทั้งสองเพศ แต่จะพบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุ โดยทั่วโลกในปี คศ. 2000 พบผู้ป่วยเบาหวานสูงถึงอย่างน้อย 171 ล้านคน หรือ คิดเป็นประมาณ 2.8% ของประชากรโลก และคาดว่าผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี

Read More

29 มีนาคม 2555

อาการเริ่มเป็นเบาหวาน

เบาหวานมีอาการแรกเริ่มอย่างไรบ้าง
อาการหลักสำคัญๆของเบาหวาน คือ หิวบ่อย กระหายน้ำ และปัสสาวะปริมาณมากและบ่อย
นอกจากนั้นอาจมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย  เช่น
· เหนื่อย อ่อนเพลีย
· ผิวแห้ง คัน

Read More

28 มีนาคม 2555

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic eye)


 เบาหวานมีผลอย่างไรต่อร่างกาย
         เบาหวานอาจเป็นสาเหตุทำให้ตาบอด  เหน็บชา  ไตวาย  เพิ่มโอกาสของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก
 ความผิดปกติทางตาจากเบาหวาน
         ตาแห้งเนื่องจากน้ำตาน้อยลง  ประสาทสมองเส้นที่ 3,4,6 เป็นอัมพาต  สายตาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากภาวะน้ำตาลสูง 

Read More

เบาหวานและการรับประทานอาหาร (Diabetic diet)


การเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องเพื่อสุขภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีโรคแทรกซ้อนก็จะลดลงด้วย
หลักการง่ายๆในการคุมอาหาร
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • รับประทานข้าวเป็นหลัก สลับกับอาหารพวกแป้งเป็นบางมื้อ

Read More

เบาหวานกับการออกกำลังกาย Exercise


            การออกกำลังกาย ( Exercise )  หมายถึง การมีกิจกรรมเสริมจากกิจวัตรประจำวัน โดยมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ ทั่วร่างกาย มีการสูบฉีดไหลเวียนโลหิตเพิ่มขึ้น ทำให้สมรรถภาพการทำงานของปอดและหัวใจดีขึ้น ช่วยลดความเครียด ความกังวลลงได้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมจะทำให้สุขภาพทั่วไป รวมทั้งการควบคุมเบาหวานดีขึ้น
ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

Read More

27 มีนาคม 2555

การดูแลเท้าในโรคเบาหวาน (Diabetic foot care)


โรคเบาหวาน เป็นโรคก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังชนิดไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อต่างๆ ของหลอดเลือด และของปลายประสาทต่างๆ ส่งผลให้หลอดเลือดตีบแคบ อวัยวะส่วนอยู่ปลายๆ เช่นเท้า บวมเรื้อรัง ขาดเลือด และเกิดอาการชาเรื้อรัง จึงส่งผลให้เกิดแผลเรื้อรังได้ง่าย จากอาการเท้าชา การรับรู้ความรู้สึกจึงน้อยลง และแผลหายช้าเพราะขาดเลือด จึงเกิดแผลติดเชื้อเรื้อรัง ลุกลามได้ง่าย จนอาจต้องตัดขา

Read More

กินดี...ต้านโรคได้


         การกิน ไม่ใช่กินอย่างไรให้อร่อย แต่มุ่งเน้นเรื่อง กินดี เพื่อต้านโรค คนไทยในยุคนี้มีโรคภัยมากมายเกาะกุมรุมเร้าอันมีสาเหตุมาจาก อาหารการกิน ผู้ใหญ่และวัยรุ่นในยุคนี้คุ้นเคยกับอาหารจานด่วนมากกว่าน้ำพริกผักจิ้ม ส่วนเด็กยุคใหม่เรียกได้ว่าโตมาจากนมผง อาหารขยะและอาหารจานด่วน แถมดูอ้วนท้วนสมบูรณ์แก้มกลมแสนน่ารัก แต่อนาคตทำนายได้เลยว่า ยากที่จะรอดพ้นจากภัย โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดตีบ และโรคมะเร็ง

         การป้องกันย่อมดีกว่าแก้ไข

Read More

26 มีนาคม 2555

ข้อเสื่อม (Osteoarthritis)


เป็นโรคข้อเรื้อรังที่พบมากที่สุด พบบ่อยที่ข้อเข่า ข้อมือและข้อสะโพก พบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เพศหญิงพบมากกว่าเพศชาย การเสื่อมของข้อจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ การดำเนินโรคใช้ระยะ เวลานานหลายปีกว่าจะเริ่มแสดงอาการปวด
โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ข้อเสื่อม เกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี

Read More

25 มีนาคม 2555

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม

·        ใครคือผู้สมควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม?
ผู้สมควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม คือ ผู้หญิงทุกคน เริ่มตั้งแต่วัยที่พอเข้าใจ และสามารถดูแลตนเอง และสอนให้ดูแลตนเองได้ โดยทั่วไปมักเริ่มที่อายุ 18-20 ปี และควรตรวจสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดชีวิตตามแพทย์แนะนำ ตราบเท่าที่ยังมีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะมีอายุไขได้ยืนยาวต่ออีกอย่างน้อยประมาณ 5 ปีนับจากการตรวจครั้งสุดท้าย (ข้อมูลการศึกษาทางการแพทย์มักครอบคลุมถึงอายุประมาณ 74 ปี)
·        วิธีตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทำอย่างไร? ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน?

Read More

24 มีนาคม 2555

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

·        ใครคือผู้สมควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก? และต้องตรวจบ่อยแค่ไหน?
สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดังนี้ คือ ให้เริ่มตรวจคัดกรองในผู้หญิงปกติทุกคน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป หรือที่ 3 ปีหลังมีเพศ สัมพันธ์ครั้งแรก ทั้งนี้ขึ้นกับว่าอะไรถึงก่อน หลังจากนั้นตรวจคัดกรองทุก 1-2 ปีขึ้นกับแพทย์แนะนำ จนถึงอายุ 29 ปี
ตั้งแต่ อายุ 30 ปีขึ้นไป เมื่อผลตรวจคัดกรองปกติทุกครั้ง 3 ครั้ง/3 ปีติดต่อกัน

Read More

01 มีนาคม 2555

ทำไมพนักงานต้องต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในองค์การ (Resistance to Change)


        ที่ใดมีการพัฒนา ที่นั่นย่อมต้องการการเปลี่ยนแปลง พบว่าคำกล่าวนี้มักจะเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่ต้องการหยุดนิ่ง ไม่ต้องการให้บุคลากรของตนเองเป็นคนที่ทำงานไม่เกิดประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้องค์การหลายแห่งคิดหาวิธีการ หาเครื่องมือเพื่อการพัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถมากขึ้นเพื่อนำไปสู่การ แข่งขันและความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ดี แต่ในความรู้สึกของพนักงานในองค์การกลับมองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นการทำร้าย พวกเขา จะมีพนักงานสักกี่คนในองค์การที่ยินดี และยินยอมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากที่เคยทำมาในอดีตมาเป็นพฤติกรรมที่ องค์การต้องการ การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น สาเหตุที่ทำให้พนักงานต่อต้านการปลี่ยนเกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังต่อไปนี้
       1. ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมีมากกว่าการนิ่งอยู่เฉย ๆ
      - การเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ไม่เคยปฏิบัตินั้นไม่สามารถประกันและพิสูจน์ได้ว่า สิ่งนั้นจะดีเสมอไป พนักงานรับรู้ว่าการบริหารการเปลี่ยนแปลงถือว่าเป็นการบริหารความเสี่ยง และหากองค์การไม่สามารถชี้แจงหรือขายไอเดียให้กับพนักงานทุกคนในองค์การเข้า ใจถึงเหตุผลความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลง ความสำเร็จของการปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ และการปรับเปลี่ยนทัศนคติของพนักงานย่อม่ไม่เกิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่พฤติกรรมการแสดงออกของพนักงานที่ไม่แตกต่างไปจากเดิมที่เคย ปฏิบัติ

      2. ความรู้สึกยึดติดกับสิ่งที่เคยทำจนเป็นนิสัย
      - พฤติกรรมที่พนักงานกระทำซ้ำไปซ้ำมาแบบเดิม ๆ จนทำให้เกิดการยึดติดหรือเกิดความเคยชินกับสิ่งที่เคยปฏิบัติเป็นเหตุให้ พนักงานไม่อยากจะเปลี่ยนแปลง เนื่องจากว่าสิ่งที่พวกเขาเคยแสดงออกมานั้นสามารถทำนายผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ได้มากกว่าพฤติกรรมที่พวกเขาไม่เคยแสดงออก ความเคยชินจะทำให้พนักงานเกิดความสบายใจ เกิดความมั่นคงปลอดภัย จึงทำให้พนักงานเกิดคำถามว่า เราเคยทำแบบนี้มาก่อนในอดีต แล้วทำไมเราจะต้องเปลี่ยนแปลงไปทำแบบอื่นตามที่องค์การต้องการให้เปลี่ยน ด้วย
      3. ความรู้สึกสูญเสียการควบคุม และการปรับตัว
        - พนักงานรับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้พวกเขาหมดอำนาจ ความรับผิดชอบลดลง การสูญเสียการควบคุมในปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมไปถึงความรู้สึกว่าพวกเขาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับระบบงานใหม่ ทีมงานที่ประกอบไปด้วย ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และลูกค้าที่ไม่คุ้นเคยกันมาก่อน และลักษณะงานความรับผิดชอบใหม่ พนักงานจะรู้สึกว่าสภาพแวดล้อมใหม่ ๆนี้เองจะเป็นต้นเหตุให้พนักงานสูญเสียอำนาจหรือการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ไปได้

4. ขาดความเต็มใจในการเรียนรู้
    พนักงานหลาย ๆ คนที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงของระบบงานพัฒนาบุคลากรเนื่องจากไม่ต้อง การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพราะพวกเขาคิดว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่พวกเขารู้อยู่แล้ว จึงทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า ทำไมต้องเรียนรู้ถึงระบบงานใหม่ ๆ นั้นอีก ระบบงานนั้นเป็นสิ่งที่พนักงานรู้อยู่ก่อนหน้านี้แล้วเป็นเหตุให้พนักงานไม่เห็นด้วยกับแนวทางใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ปฏิบัติในองค์การ รับรู้ว่าแนวทางใหม่ ๆ นั้นไม่สามารถนำผลประโยชน์มาสู่องค์การได้อย่างแท้จริง
     5. ไม่มีตัวอย่างหรือแม่แบบ (Role Model)
        ตัวแทนในการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ที่ถูกกำหนดขึ้นมาในองค์การจะต้องทำหน้าที่ในการเป็นตัวอย่างหรือแม่แบบที่ ดีในการนำเอาเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรมาใช้ปฏิบัติในองค์การ อย่างไรก็ตามพบว่าองค์การหลาย ๆ แห่งไม่ได้กำหนดให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น เป็นเหตุให้พนักงานเกิดความไม่มั่นใจว่า ระบบงานใหม่ๆ ที่จะนำมาใช้ในองค์การนั้นจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่ รวมถึงความสำเร็จนั้นเกิดขึ้นจากแนวปฏิบัติ และขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง

    6. ความรู้สึกว่าขีดความสามารถในงานลดลง
     พนักงานเกรงว่าการเปลี่ยนแปลงจะเป็นต้นเหตุให้พวกเขาขาดความสามารถหรือ ศักยภาพในการทำงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่องค์การและหน่วยงานกำหนดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงระหว่างการเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงถ่ายโยงหรือปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานจากแบบเดิมไปเป็นแบบใหม่ ซึ่งช่วงนี้พนักงานจะเกิดความรู้สึกว่าตนเองไม่มีขีดความสามารถเพียงพอที่จะ ทำให้งานนั้น ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ พนักงานขาดความมั่นใจ ความเชื่อมั่นในขีดความสามารถของตนเอง
     7. ความไม่เชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม
     เป็นความคิดว่าเปลี่ยนไปก็เท่านั้น ก่อนหน้านี้พวกเขาก็อยู่กันได้ ดังนั้นเครื่องมือใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์การนั้นพนักงานจึงขาดความเชื่อถือว่าจะ สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยิ่งพนักงานเคยเห็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงระบบงานในการพัฒนาบุคลากร แล้วและไม่สามารถนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง ทำแล้วหยุดไป ยิ่งทำให้พนักงานขาดความเชื่อมั่นถึงผลลัพธ์ของการนำระบบงานมาใช้ในการเพิ่ม ขีดความสามารถของพนักงาน
     8. ความเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงคือการลงทุนที่สูญเสีย
     เนื่องจากการนำเครื่องมือหรือระบบงานใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรนั้น บางครั้งจำเป็นจะต้องใช้ที่ปรึกษาจากภายนอกมาช่วยในการออกแบบระบบงานใหม่ที่ เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การ จึงทำให้พนักงานมีทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลงในทางลบ เพราะเห็นว่าจะต้องมีการลงทุนที่มาก ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเรื่องงบประมาณ เรื่องเวลาที่สูญเสียไป และความคิดทางลบของพนักงานที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์การ จึงทำให้พนักงานไม่เห็นด้วยและไม่ปฏิบัติตามระบบงานใหม่ ๆนั้น

     9. การเปลี่ยนแปลงนำมาสู่ภาระงานที่เพิ่มขึ้น
      พนักงานมองว่าการเปลี่ยนแปลงคือเกมส์อย่างหนึ่งที่องค์การนำมาเล่นในองค์การ เป็นเกมส์ใหม่ ๆ ที่ผสมผสานกับเกมส์เดิมที่พวกเขาเคยเล่นไปแล้ว ซึ่งจะทำให้พนักงานต้องรับผิดชอบกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น ภาระงานที่เพิ่มขึ้นและไม่เหมือนจากเดิมที่เคยปฏิบัติ พนักงานจะต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่แตกต่างไปจากเดิม จึงเป็นเหตุให้พวกเขาไม่เห็นด้วยและไม่รับรู้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ พนักงานมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น
     สรุปว่าการเปลี่ยนแปลงระบบงานด้านการพัฒนาบุคลากรในองค์การที่นำมาใช้และไม่ ประสบผลสำเร็จนั้น อันเนื่องมาจากว่าพนักงานยังมีความเชื่อและความคิดที่ไม่ถูกต้องกับการ เปลี่ยนแปลง การรับรู้ที่ผิดจึงทำให้เกิดพฤติกรรมการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง พบว่าพฤติกรรมการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมีการแสดงออกที่หลากหลายรูปแบบ จากรุนแรงน้อยที่สุดไปยังรุนแรงมากที่สุด ซึ่งนักพัฒนาบุคลากรจะต้องทำความเข้าใจและหาวิธีการลดพฤติกรรมการต่อต้านจาก พนักงานที่เกิดขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก อินเตอร์เน็ต

Read More

เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย...เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส.... เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย
ใครชอบใครชังช่างเถิด ใครเชิดใครแช่งช่างเขา ใครเบื่อใครบ่นทนเอา ใจเราร่มเย็นเป็นพอ